ระบบการบริหารงาน

CPRAM Management System

ระบบการจัดการซีพีแรม (CPRAM-MS Plus) เป็นระบบการจัดการที่พัฒนาขึ้นมาเองภายในองค์กร ของบริษัท ซีพีแรม จำกัด โดยได้นำเอาระบบการจัดการสมัยใหม่ชั้นเยี่ยม 3 ระบบ อันได้แก่ ระบบ การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) ระบบการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) และ ระบบลีน (LEAN) มาบูรณาการร่วมกัน และมีเทคโนโลยีช่วยในการขับเคลื่อน โดยมีค่านิยมองค์กร ซีพีแรมเป็นตัวกำกับ ภายใต้วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมขององค์กร

  • ระบบบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร TQM (Total Quality Management)
  • ระบบการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม TPM (Total Productive Maintenance)
  • ระบบลีน LEAN Management

ระบบบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร TQM (Total Quality Management)

ระบบบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร โดย TQM เป็นกิจกรรมที่เป็นระบบวิทยาศาสตร์ และครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรโดยให้ความสำคัญที่ความพึงพอใจของลูกค้า

เมื่อเปรียบเทียบระบบ TQM กับ “บ้าน” มีองค์ประกอบ ดังนี้

  • “หลังคาบ้าน” คือ เป้าหมายลูกค้าสูงสุดขององค์กร
  • “คาน” รองรับอยู่ใต้หลังคาบ้าน เปรียบเสมือนเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ คือ วิสัยทัศน์ และ พันธกิจขององค์กร
  • “เสาของบ้าน 3 ต้น” ที่ค้ำจุนให้ “หลังคา” และ “คาน” ประกอบด้วย
    1. เสา Concept คือ แนวคิดในการบริหารงานและปฏิบัติงาน
    2. เสา Techniques คือ เทคนิค / เครื่องมือที่จะใช้ในการบริหารงาน
    3. เสา Vehicle คือ ช่องทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน TQM
  • “รากฐาน” ที่จะทำให้บ้านมีความมั่นคง มี 3 ชั้น ประกอบด้วย
    1. การจัดการองค์ความรู้และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (KM & LO)
    2. ระบบพื้นฐานของ CPRAM คือ 7ส. และระบบการจัดการอาหารปลอดภัย (Food Safety System)
    3. ค่านิยมองค์กร และความสามารถเฉพาะขององค์กร
CPRAM Management System
CPRAM Management System

ระบบการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่‹วม TPM (Total Productive Maintenance)

กิจกรรมการบำรุงรักษาที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของทุกๆ ฝ่าย ทุกๆ คน เพื่อให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบผลิตสูงสุดมุ่งมั่นสู่เป้าหมาย อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์

1

Focused Improvement การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง

เสา FI จะดำเนินการสร้างระบบ และพัฒนาบุคลากรให้สามารถลดต้นทุนการผลิตโดยลดความสูญเสีย ในกระบวนการผลิตและตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อมุ่งสู่การผลิตแบบ Lean production

2

Autonomous Maintenance การบำรุงรักษาด้วยตนเอง

เสา AM จะดำเนินการสร้างระบบให้พนักงานใช้งานเครื่องจักรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย มีความสามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ด้วยตนเอง และสร้างสายการผลิตที่สมบูรณ์แบบผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของลูกค้า

3

Planned Maintenance การบำรุงรักษาเชิงวางแผน

เสา PM จะมุ่งเน้นการป้องกันการชำรุดเสียหาย การเสื่อมสภาพจากปัจจัยภายนอกมาบังคับและการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานตามแนวคิด ของ PM 7steps สู่การเกิด Low maintenance cost และ Zero Breakdown

4

Education&Training การศึกษาและฝึกอบรม

เสา ET จะดำเนินการสร้างและพัฒนาระบบการสอนงาน ฝึกทักษะ รวมถึงยกระดับพัฒนาความสามารถด้านเทคนิค ให้พนักงานและช่างซ่อมบำรุง

5

Initial Phase Management การออกแบบขั้นต้น

เสา IP จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงเครื่องจักรใหม่โดยตอบสนองตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานให้ได้ตามแผนงานและต้นทุนที่ออกแบบไว้ ได้กำลังการผลิตตามเป้าหมาย และไม่เกิดของเสียหลังเริ่มผลิตแบบ Mass Production

6

Quality Maintenance การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ

เสา QM จะดำเนินการสร้างระบบการป้องกันของเสียไม่ให้เกิด และป้องกันของเสียไม่ให้เกิดซ้ำ ตามหลัก Figure Eight Model โดยนำหลัก Visual Control, Pokayoke และ QRQC เข้ามาใช้ในการควบคุม 4M Condition ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Zero Defect

7

Office Improvement การปรับปรุงสายสำนักงาน

เสา OI จะดำเนินการสร้างระบบให้สายสำนักงาน มีการมุ่งมั่นกำจัดการสูญเสียที่เกิดจากการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น

8

Safety and Environment การจัดการด้านความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

เสา SE จะดำเนินการสร้างระบบ และส่งเสริมเพื่อการลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ และขจัดมลภาวะในสถานที่ทำงาน ตลอดจนการใช้พลังงาน รวมถึงทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

CPRAM Management System

ระบบลีน LEAN Management

แนวคิดการจัดการกระบวนการผลิตที่มุ่งเน้นลดความสูญเปล่าทั้ง 8 ประการ เพื่อส่งมอบสินค้าที่ลูกค้าต้องการภายในเวลาที่กำหนด

7+1 waste

  • ความสูญเปล่าจากของเสีย (Defect)
  • ความสุญเปล่าจากการผลิตเกิน (Over Product)
  • ความสูญเปล่าจากการรอคอย (Waiting time)
  • ความสูญเปล่าจากการขนย้าย (Transportation)
  • ความสูญเปล่าจากการเก็บมากเกินไป (Inventory)
  • ความสูญเปล่าเกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)
  • ความสูญเปล่าการใช้ทรัพยากรไม่เต็มประสิทธิภาพ (Not Utillzed Employee)
  • ความสูญเปล่าเกิดจากกระบวนการมีกระบวนการมากเกินไป (Over Processing)