ต้นไม้นวัตกรรม

CPRAM Management System

ต้นไม้วิเศษ
รากฐานขององค์กรแห่งนวัตกรรม

“ต้นไม้วิเศษ” พิมพ์เขียวแห่งความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมของซีพีแรม ซีพีแรมใช้ โมเดลของ “ต้นไม้วิเศษ” ในการสื่อสารกับทุกคนทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้เข้าใจแนวทาง ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของซีพีแรมอย่างง่ายๆ และรวดเร็ว ต้นไม้คือซีพีแรม มีกิ่งก้านสาขาเป็น หน่วยงานต่างๆ และใบไม้ทุกใบคือพนักงานซีพีแรม โดยต้นไม้ต้นนี้ออกผลเป็นนวัตกรรมเต็มต้น

CPRAM business

ผลไม้หรือนวัตกรรมของซีพีแรมมี 7 ประเภท คือ

  • นวัตกรรมแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Innovation) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนว ทาง ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ตัวอย่าง เช่น โครงการเรียนฟรีมีรายได้ ของโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์
  • นวัตกรรมเทคโนโลยี (Technology Innovation) เป็นการพัฒนาหรือปรับปรุงให้เกิดเทค โนโลยีใหม่ ซึ่งสามารถนำไปใช้เกิดผลอย่างกว้างขวาง เช่น การพัฒนา RFID สำหรับการตรวจ นับทรัพย์สิน
  • นวัตกรรมองค์กร (Organization Innovation) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดโครง สร้างใหม่ ขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การให้หน่วยงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ขึ้นกับฝ่าย การตลาด แทนการขึ้นกับฝ่ายผลิต
  • นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนากระ บวนการและวิธีการที่แตกต่างกันไปจากเดิม เพื่อให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น การ ผลิตขนมจีบเสียบไม้อัตโนมัติ โดยไม่สัมผัสมือคน การผลิตข้าวกล่องอัตโนมัติ โครงการรีไซเคิล น้ำเพื่อ สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
  • นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าสูงสุด (เหนือความคาดหมาย) เช่น เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูย่าง ซาลาเปาบรรจุใน Venting Pouch
  • นวัตกรรมบริการ (Service Innovation) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง การบริการ ให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ตู้จำหน่ายอาหารอัตโนมัติ
  • นวัตกรรมการจัดการ (Management Innovation) เป็นการจัดการไปสู่ การปรับเปลี่ยน ในกิจกรรมการทำงานใหม่ๆ จากที่ปฏิบัติการอยู่เป็นประจำขององค์กร ซึ่งอาจจะเป็นนวัตกรรม การเงิน นวัตกรรมการตลาด นวัตกรรม งานบุคคล นวัตกรรมซัพพลายเชน ฯลฯ เช่น การจัด การกะเพราตลอด ซัพพลายเชน
CPRAM business

ต้นไม้นี้จะเติบโตและมีผลไม้เต็มต้นได้ทุกวันจะต้องได้รับสารอาหาร ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหรือน้ำผ่านมาทางรากและมีลำต้นที่แข็งแรงด้วย ซึ่งสารอาหารที่ผ่านทางรากนั่นก็คือ

CPRAM Management System

Intangible resources ซึ่งมองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ 4 ด้าน ได้แก่

  • Relational Capital
  • Structural Capital
  • Human Capital
  • ส่วนลำต้นที่แข็งแรงคือ Tangible resources ซึ่งมองเห็นได้ อันได้แก่ Land, Buildings, Machine, Money and Facilities นวัตกรรมที่เกิดขึ้นทั้ง 7 ประเภท จะต้องเป็นสิ่งที่สร้างคุณค่าไม่ว่าจะในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หลังจากที่ทุกคนภายในองค์กรเข้าใจ “What” และ “How” ในเรื่องของนวัตกรรมอย่างชัดเจนแล้ว จึงเกิดเป็น

“วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม” (Innovation culture) ขึ้น ประกอบด้วย

  • Compelling Vision (วิสัยทัศน์มีพลังขับเคลื่อนสูง
  • Inspirational Leader (ผู้นำเปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจ)
  • Effective Communication (การสื่อสาร ตรง ชัด ไว)
  • Empowering Climate (บรรยากาศแกร่งกล้า 5 กล้า คือ กล้าเรียนรู้ กล้าคิด กล้านำเสนอ กล้าทำกล้ารับผิดชอบ)
  • People Development and Learning (ไม่หยุดพัฒนาคนและการเรียนรู้)
  • Goal Oriented (มุ่งมั่นสู่เป้าหมาย)
  • Customer admired (ลูกค้าผูกใจรัก)
  • Stakeholder Engagement (ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องล้วนมีส่วนร่วมในผลสำเร็จด้วยกัน) พนักงานซีพีแรมทุกคนทราบดีว่าการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็น ด้วยกระบวนการ P-D-C-A ทำให้เกิด Kaizen ในองค์กรมากมาย แต่เมื่อเสริมด้วยวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรเข้าไปด้วยแล้ว จะพบการปรับปรุงหลายอย่างที่เป็นแนวคิดสร้างสรรค์ ที่เรียกว่าเป็น “นวัตกรรม” ได้