Health Living Well

CPRAM business

เป้าหมายที่ 7

ให้บริษัทสร้างคุณค่าทางสังคมโดยการส่งเสริมอาชีพ และรายได้ การพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้จัดหาผลิตภัณฑ์และบริหาร รวมถึงสร้างโอกาสทางอาชีพและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับกลุ่มเปราะบาง (กลุ่มคนในสังคมที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

เป้าหมาย :
เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะ ส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับเกษตรกร ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ตลอดห่วงโซ่อุปทานให้ได้รวมกัน จำนวน .... ราย

CPRAM business

เป้าหมายที่ 8 การสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับในเรื่องการสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษา ความรู้ และทักษะในการดำรงชีวิต

เป้าหมาย :
เพื่อให้เกิดการสนับสนุนเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ให้เข้าถึงการศีกษาทั้งในระบบและนอกระบบให้มีทักษะทางเทคนิคและ อาชีพที่จำเป็นต่อการทำงาน รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ได้รวมกัน จำนวน 35,000 ราย

CPRAM business

เป้าหมายที่ 9 การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

ให้บริษัทมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ที่มุ่งเน้นสุขภาพโภชนาการ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งโปรตีน และโภชนาการที่ดี การส่งเสริม การแสดงฉลากโภชนาการ สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงมีการพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีครอบคลุมถึงความเป็นอยู่ที่ดี (Well-Being) ทั้งทางร่างการ ทางจิตใจ และทางสังคมของบุคคลอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย :
เพิ่มสัดส่วนจำนวนผลิตภัณฑ์ และบริหารใหม่ ที่มุ่งเน้นสุขภาพและโภชนาการที่ดีให้ได้เป็น 25% ของทั้งหมด

CPRAM business

เป้าหมายที่ 10 การเข้าถึงอาหารและน้ำที่ปลอดภัย และสุขภาวะที่ดี

ให้บริษัทสนับสนุนผู้คนที่มีความลำบาก ขาดแคลนและขัดสน กลุ่มคนยากจน และกลุ่มเปราะบาง ให้ได้รับการบรรเทาและยุติความหิวโหย โดยสนับสนุนการเข้าถึงอาหารและน้ำ ที่ปลอดภัย รวมถึงการมีสุขภาวะที่ดี

เป้าหมาย :
ให้การสนับสนุนผู้ที่ขาดแคลน กลุ่มคนยากจน และกลุ่มเปราะบาง ให้เข้าถึงอาหาร น้ำที่ปลอดภัย และการมีสุขภาวะที่ดี ให้ได้รวมกันจำนวน 35,000 ราย

CPRAM business

เป้าหมายที่ 11 ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ให้บริษัทยกระดับกระบวนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมีการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเข้าใจถึงความต้องการ และความคาดหวังของแต่ละกลุ่ม กำหนดกลยุทธ์และแนวทางเพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการสร้างความตระหนักของคนในองค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีกระบวนการตรวจสอบทุกข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างความไว้วางใจและความผูกพันที่เข้มแข็งกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง (Key Stakeholders)

เป้าหมาย :
ผลการประเมินระดับความผูกพันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Key Stakeholders) ทุกกลุ่มต้องไม่ต่ำกว่า 80%